ระบบการศึกษาของประเทศแคนาดา (Education in Canada)

 

แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ประถม มัธยม และอุดมศึกษา ชั้นอนุบาล 1 - 2 ปี แล้วตามด้วย ประถมศึกษาเกรด 1 - 6 (เทียบเท่ากับ ป. 1 - 6), มัธยมศึกษาเกรด 7 - 12 (เทียบเท่ากับ ม. 1 - 6) ระดับอุดมศึกษามีทั้ง มหาวิทยาลัย (University), วิทยาลัยมหาวิทยาลัย (University College), วิทยาลัย (College), วิทยาลัยชุมชน (Community College), วิทยาลัยศิลป์และเทคโนโลยี (College of Applied Arts & Technology), วิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีชั้นสูง (College Institute of Technology and Advanced Learning), สถาบัน (Institute, Academy, School), วิทยาลัยท้องถิ่น (Regional College), ศูนย์ศึกษา (Centre), และ เตรียมมหาวิทยาลัย หรือวุฒิบัตรวิชาชีพ (CEGEP เฉพาะในมณฑลควีเบ็คเท่านั้น)

ระดับอุดมศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นจะมีทั้ง อนุปริญญา (associate degree), ปริญญาตรี, โท, เอก (degree), วุฒิบัตร (diploma) และ ประกาศนียบัตร (certificate) ในสาขาต่างๆ ให้เลือกมากมาย วุฒิบัตร และประกาศนียบัตร จะมีมอบให้ในระดับที่ นักศึกษาต้องจบปริญญาตรีก่อนด้วย เรียกว่า post-graduate programs

 

รายละเอียดทุนการศึกษา (Scholarships)
ทุนการศึกษาส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผลการเรียนดีเยี่ยม และจะมีให้สำหรับ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด นอกจากในบางกรณีเท่านั้น ยังมีทุนทั้งจากสถาบัน และองค์กรภายนอก รวมทั้งทุนการวิจัย และทุนช่วยการสอนของอาจารย์ และอื่นๆ อีกมากมาย

 

การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (High School)

  • เกรด 7 - 12
  • ปีการศึกษา กันยายน ถึง มิถุนายน
  • เฉพาะมณฑลควิเบ็ค จะมีชั้นเตรียมมหาวิทยาลัยหรือวุฒิบัตรวิชาชีพ (CEGEP) ต่อไป อีก 2 - 3 ปี
  • มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน
  • โรงเรียนรัฐบาลเป็นโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และบริหารงานโดยกรรมการเขตของโรงเรียน มีคุณภาพดีมาก ดีกว่าโรงเรียนรัฐบาลในบ้านเราหรือประเทศอื่นๆ โรงเรียนรัฐบาลเกือบทุกแห่งเป็นโรงเรียนสหศึกษา นักเรียนต่างชาติมีหลักสูตรภาษาอังกฤษรองรับ นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวแคนาดามากกว่า 90% มีส่วนน้อยที่มีหอพักสำหรับนักเรียนต่างชาติ ครอบครัวชาวแคนาดามีความชื่นชอบคนเอเชียอยู่แล้ว จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับนักเรียนไทยที่อยู่โฮมสเตย์ ส่วนใหญ่มีความสุขเวลาที่อยู่กับครอบครัวชาวแคนาดา
  • โรงเรียนเอกชน เป็นโรงเรียนที่มีอยู่ในทุกมณฑล สามารถเลือกโรงเรียนชายล้วน, หญิงล้วน หรือสหศึกษาได้ แต่อัตราส่วนนักเรียนต่างชาติจะสูงกว่าโรงเรียนรัฐบาล มีหอพักอยู่หลายโรงเรียน และหลายแห่งสามารถเลือกอยู่กับครอบครัวชาวแคนาดาได้
  • ครอบครัวชาวแคนาดาที่จะรับนักเรียนต่างชาติ จะต้องผ่านการกลั่นกรอง ตรวจสอบ จากทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือรัฐบาล ก่อนที่จะได้รับการยินยอมให้เป็นที่พักอาศัยของนักเรียนต่างชาติ ดังนั้น ผู้ปกครองนักเรียนไทยจึงมั่นใจได้ในคุณภาพของครอบครัวชาวแคนาดา ที่เป็นมิตรกับคนเอเชีย และไม่เหมือนกับประเทศอื่นที่เคยได้ยินมาในแง่ต่างๆ
  • ค่าเล่าเรียน + ค่ากินอยู่โดยประมาณ (average) จะอยู่ที่ปีละ 800,000 บาท สำหรับโรงเรียนรัฐบาล และ 1,200,000 บาท สำหรับโรงเรียนเอกชน ขึ้นอยู่กับแต่ละ มณฑลด้วยในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ้

 

ารศึกษาในสถาบันภาษา (Language School)

  • นักเรียนไทยสามารถไปเรียนที่ประเทศแคนาดา และเลือกเรียนได้ถึง 2 ภาษาคือ อังกฤษและฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษที่ได้จะเป็นสำเนียงแท้จริงของทวีปอเมริกาเหนือ ไม่เพี้ยน และเหมาะกับเยาวชนไทยในยุคโลกาภิวัฒน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ยอมรับทั่วโลก เพราะมีสำเนียงที่เป็นกลางเข้าใจง่าย สำหรับภาษาฝรั่งเศสนั้น ก็เป็นสำเนียงเดียวกับที่ใช้ในยุโรป
  • สามารถเลือกเรียนได้ทั้งที่ ศูนย์ภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือสถาบันเอกชนที่มีชื่อเสียงมากมาย
  • มีคอร์สให้เลือกทั้งเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน, ธุรกิจ หรือเพื่อวัตถุประสงค์ของการศึกษาต่อทุกระดับชั้น
  • คอร์สมีให้เลือกทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ปี ค่าเล่าเรียน + ค่ากินอยู่โดยประมาณ (average) จะอยู่ที่เดือนละ 80,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือเอกชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการเรียนภาษา และมณฑลที่นักศึกษาเรียนอยู่ด้วย
  • สำหรับนักเรียนไทยที่ไม่ได้จบจากโรงเรียนนานาชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะเรียน ESL (English as a Second Language) ตามสถาบันต่างๆ ทั้งของรัฐบาล หรือเอกชน เพื่อที่จะเพิ่มพูนทักษะในแง่ Conversation และ Listening สำหรับการฟัง Lecture ในชั้นเรียน ในการศึกษาต่อที่ประเทศแคนาดาในระดับอุดมศึกษา
  • สำหรับผู้สนใจการทดสอบภาษาอังกฤษ CAEL test ของประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นที่ยอมรับกว่า 90% ของมหาวิทยาลัยในแคนาดา และเมื่อสอบ CAEL test แล้ว ไม่ต้องสอบ TOEFL และ IELTS เพื่อวัดผลภาษาอังกฤษ สนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cael.ca

 

ารศึกษาในระดับวิทยาลัย (College)

  • หลักสูตรเป็นไปตามกระแสตลาดแรงงาน ในสถาบันการศึกษาที่ให้ความรู้เชิงวิชาการ เพื่อตอบสนองต่อนโยบายเศรษฐกิจของชาติ มีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอไม่เคยหยุดนิ่ง
  • อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อรักษามาตรฐานของหลักสูตรและคุณภาพของวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือเอกชน
  • ปีการศึกษาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนถึงเมษายน แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคต้นเริ่มเดือน กันยายน ภาคปลายเริ่มเดือนมกราคม และช่วงเทอมภาคฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม
  • นักศึกษาสามารถเรียนปีแรก และ/หรือ ปีที่ 2 ในวิทยาลัยเพื่อย้ายไปต่อมหาวิทยาลัยในปีถัดไปได้หลายแห่ง นักศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตร (1 ปี) หรือ วุฒิบัตร (2 ปี) ในหลายสาขาให้เลือก ซึ่งคอร์สที่เรียนสามารถย้ายไปเพื่อจบมหาวิทยาลัยได้ เป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งของนักศึกษาไทย ที่จะเรียนระดับปริญญาตรี เพราะจะได้เรียนในชั้นเรียนที่อาจารย์ดูแลได้ทั่วถึง ไม่ใหญ่โตเหมือนกับในมหาวิทยาลัย
  • วิทยาลัยเทคนิคหรืออาชีวะก็เป็นที่น่าสนใจ เพราะเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน
  • หลักเกณฑ์การรับสมัคร - จบ ม. 6 ด้วยคะแนน 70% ขึ้นไปในวิชาหลัก, ระบบประเทศอังกฤษต้องผ่าน 5 วิชาหลัก และ 2 ใน 5 ต้องเป็นระดับสูง หรือ 4 ใน 5 ต้องเป็นระดับย่อยสูง เกรดอย่างต่ำ B, ระบบ IB - จบวุฒิบัตร IB ด้วยคะแนนที่พอใจ (28 - 34) หรือประกาศนียบัตร IB ที่เทียบเท่ากับจบเกรด 12 (ม. 6)
  • สำหรับเกณฑ์ภาษาอังกฤษ TOEFL 550 ขึ้นไป (213) (IBT = 79), IELTS 5.5, CAEL 60 - 69 สำหรับภาษาอังกฤษ สามารถไปเข้าเรียนคอร์สภาษาอังกฤษที่สถาบันต่างๆ จัดไว้ให้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะก่อนที่จะเข้าเรียนได้
  • มีวิทยาลัยหลายแห่งที่มีหลักสูตรปริญญาตรี, อนุปริญญา และหลักสูตรวุฒิบัตรระดับสูงกว่าปริญญาตรีด้วย (สำหรับระดับนี้เกรดภาษาอังกฤษก็จะต้องได้คะแนนสูงขึ้นด้วย)
  • ค่าเล่าเรียน + ค่ากินอยู่โดยประมาณ (average) อยูที่ปีละ 800,000 บาท

 

ารศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย (University & University College)

  • นอกจากปริญญาตรี, โท, เอก และอนุปริญญาแล้ว ยังมีโปรแกรมวุฒิบัตรและประกาศนียบัตร ซึ่งจะต้องจบปริญญาตรีก่อนและใช้เวลา 1 - 2 ปี
  • ปีการศึกษาของมหาวิทยาลัยจะเป็นระบบ 2 หรือ 3 เทอมก็ได้ เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤษภาคม ถ้า 3 เทอมจะรวมภาคฤดูร้อน ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม ไปด้วย แทนที่จะเป็นเทอมซัมเมอร์
  • หลักเกณฑ์การรับสมัครระดับปริญญาโท - ส่วนใหญ่ต้องการผลการเรียน GPA 3.0 ขึ้นไปใน 2 ปีสุดท้าย และ TOEFL 550 - 600 (ส่วนใหญ่จะ 580) หรือ IELTS 6.5 - 7.0 หรือ CAEL 70 ขึ้นไป (GMAT 500 ขึ้นไป สำหรับ MBA และควรจะมีประสบการณ์ทำงาน 2 ปี)
  • มีมหาวิทยาลัยในแคนาดาเกือบ 100 แห่งเป็นของรัฐบาลแทบทั้งหมด จึงรับประกันในคุณภาพที่เยี่ยมยอด และมีมหาวิทยาลัยเอกชนอยู่ไม่ถึง 10 แห่ง
  • วิทยาลัยมหาวิทยาลัย เป็นการผสมผสานระหว่างมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยไว้ด้วยกัน หลักสูตรระดับปริญญาตรี, อนุปริญญา และประกาศนียบัตร บางแห่งจะมีหลักสูตรพิเศษในระดับปริญญาโท เป็นสาขาเฉพาะ เช่น MBA รวมทั้งมีหลักสูตรภาษาอังกฤษ ESL ด้วย เป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งของนักศึกษาไทย
  • หลักเกณฑ์การรับสมัครระดับปริญญาตรี - จบ ม. 6 และได้คะแนน 75 - 95% หรือเทียบเท่า, IB - ต้องมากกว่า 28 คอร์ส จะนับได้ในการย้ายต้องเกรด 5 ขึ้นไป, ระบบประเทศอังกฤษต้องผ่าน 5 วิชาหลัก และ 2 ใน 5 ต้องเป็นระดับสูง เกรดอย่างต่ำ B
  • ปิดรับสมัครเข้าเทอมต้น (Sept.) ประมาณ 15 กุมภาพันธ์ และโดยประมาณ 15 กันยายน สำหรับเทอมปลาย (Jan) สำหรับซัมเมอร์ (May) จะปิดรับสมัครประมาณ 15 กุมภาพันธ์ ทั้งนี้ กำหนดการในบางมหาวิทยาลัย อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้ โปรดรีบสมัครแต่เนิ่นๆ
  • สามารถทำงานได้นอกสถาบันถ้าศึกษาที่สถาบันของรัฐ ทั้งวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ทำงานได้ถึง 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเต็มเวลาในช่วงหยุดเรียน แต่ต้องเรียน Full Time ผ่านปีแรกก่อน ในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น นอกจากนั้นหลังจากเรียนจบ สามารถทำงานในสาขาที่จบได้ 3 ปีเต็ม
  • ค่าเล่าเรียน + ค่ากินอยู่โดยประมาณ (average) อยู่ที่ปีละ 850,000 บาท (ปริญญาตรี 4 ปี, โท 2 ปี, เอก 3 ปี) สำหรับ MBA ค่าเล่าเรียน + ค่ากินอยู่โดย ประมาณ (average) ปีละ 1,200,000 บาท และสามารถเรียนจบได้ใน 1 ปี - 1 ปีครึ่ง

 

ขั้นตอนการสมัคร
เมื่อตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่ามีความพร้อมสำหรับการไปศึกษาต่อที่ประเทศแคนาดา ขั้นตอน ต่อไปก็คือ การสมัครเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือการสมัครเพื่อศึกษาในหลักสูตรภาษา อังกฤษหรือฝรั่งเศส และการสมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรทางวิชาการ

 

การสมัครหลักสูตรภาษาอังกฤษ
โดยทั่วไปแล้ว การสมัครเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ จะสะดวกมากในการติดต่อสถาบันในแคนาดา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันของรัฐ หรือเอกชน จะไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำทางด้านวิชาการ แต่จะมีบ้างก็จะเป็นในเรื่องข้อกำหนดอายุขั้นต่ำ หรือจำนวนนักศึกษาที่สามารถรับได้ในแต่ละช่วง นักศึกษาสามารถเลือกสมัครเรียน ไปยังสถาบันที่นักศึกษาสนใจมากที่สุด ซึ่งจะต้องพิจารณาจากหลักสูตร การเรียน อัตราค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพของเมืองที่สถาบันตั้งอยู่ ซึ่งการสมัครเพียงแค่กรอกใบสมัครให้ครบถ้วน และส่งไปพร้อมกับค่าสมัคร ที่ทางสถาบันกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอัตราค่าสมัคร 100$-150$ หรือบางสถาบันอาจจะกำหนดค่ามัดจำไว้ด้วย (ไม่มีการคืนเงิน)

เมื่อทางสถาบันที่สมัครได้รับเอกสารเรียบร้อย ก็จะทำการส่งจดหมายตอบรับการเข้าเรียน มาให้นักศึกษาเพื่อใช้ในการยื่นขอวีซ่าได้

 

การสมัครหลักสูตรทางด้านวิชาการ
การสมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรทางด้านวิชาการ จำเป็นที่จะต้องพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1.  การเตรียมเรื่องเวลา:   นักศึกษาจะต้องตรวจสอบวันรับสมัครเรียน และวันสิ้นสุดการสมัครให้ชัดเจน เพื่อเตรียมความพร้อมในการสมัครไว้ล่วงหน้า

2.  การเลือกสถาบันการศึกษา:   นักศึกษาจะต้องพิจารณาจากเกณฑ์การรับสมัครเข้าเรียน ว่านักศึกษามีคุณสมบัติพร้อมที่จะสมัครเข้าเรียนในสถาบันเหล่านั้นหรือไม่ นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ของคุณสมบัติแล้ว นักศึกษาควรจะต้องตรวจสอบหลักสูตรที่นักศึกษาสนใจ ว่ามีเปิดสอนในมหาวิทยาลัยใดบ้าง และตรวจสอบข้อมูลของมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย คำนวณอัตราค่าใช้จ่าย และค่าครองชีพของสถาบันเหล่านั้นให้ชัดเจน

3.  การขอใบสมัคร:   นักศึกษาสามารถติดต่อกับสถาบันในแคนาดาโดยตรง เพื่อขอรับใบสมัครจากสถาบันเอง หรือติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่ successcanada77@gmail.com หรือนักศึกษาสามารถรับใบสมัครได้เอง จากทางเว็บไซต์ของแต่ละสถาบัน

4.  การส่งใบสมัคร:   นักศึกษาควรอ่านรายละเอียด และทำความเข้าใจกับขั้นตอนการสมัครอย่างถี่ถ้วน ควรจะกรอกใบสมัครให้ครบถ้วนและชัดเจน (ในบางมหาวิทยาลัยอาจจะมีข้อกำหนดว่า ต้องเป็นลายมือเขียน หรือเป็นการพิมพ์ก็ได้) ในการส่งใบสมัครจำเป็นที่จะต้องมีเอกสารประกอบดังต่อไปนี้

  • ค่าสมัคร (Application Fee)
  • หลักฐานการศึกษาฉบับจริง (Transcript) ต้องเป็นฉบับภาษาอังกฤษ และจะต้องเป็นต้นฉบับที่ส่งตรงมาจากสถาบัน หรือปิดผนึก และประทับตรา โดยสถาบันที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษามา
  • จดหมายรับรองจากอาจารย์ผู้สอน 2 ฉบับ (Letters of Recommendation) ต้องเป็นฉบับภาษาอังกฤษ และหากนักศึกษามีประสบการณ์การทำงาน ต้องมีจดหมายรับรองจากการทำงาน 1 ฉบับ
  • เรียงความประวัติส่วนตัวของนักเรียน (Statement of Purpose) เป็นบทความที่เขียนขึ้น โดยครอบคลุมถึงประวัติการศึกษาที่ผ่านมา และโครงการการศึกษาต่อในประเทศแคนาดา รวมถึงความตั้งใจ และเป้าหมายทางการศึกษา
  • รูปถ่ายของนักเรียน
  • ผลการสอบต่างๆ เช่น TOEFL, IELTS หรือ CAEL และนักศึกษาจะต้องแจ้ง ให้ทางศูนย์สอบ ส่งผลการสอบฉบับจริง โดยตรงไปยังสถาบันที่นักศึกษาสมัครด้วย

5.  รอผลการสมัคร:   เมื่อทางสถาบันได้รับเอกสารการสมัครครบถ้วน ก็จะดำเนินการพิจารณา ซึ่งอาจจะใช้เวลาโดยประมาณ 3 - 4 เดือน และเมื่อนักศึกษาได้รับการตอบรับเข้าเรียน นักศึกษาก็จะได้จดหมายยืนยันการตอบรับเข้าเรียน Letter of acceptance ซึ่งจะนำไปใช้ในการยื่นขอวีซ่าด้วย